Environment
ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยรับมืออยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ภัยธรรมชาติ ความขาดแคลนของทรัพยากรน้ำ การจัดหาน้ำที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของภาคส่วนต่างๆ ได้ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจได้ ดังนั้นบริษัท จึงเห็นความสำคัญและต้องการมีบทบาทในการร่วมดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยบริษัท ได้ประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้วางแผน บริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร และบริหารจัดการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย พลังงาน และการบริหารจัดการขยะ
เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็นมิติสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
ลดของเสียต่อจำนวนผู้ใช้บริการจากโรงพยาบาลทั้งเครือลงร้อยละ 5 ภายในปี 2567
ประเด็นมิติสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
ลดการใช้น้ำต่อจำนวนผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลในเครือลงร้อยละ 0.3 ภายในปี 2567
ประเด็นมิติสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อจำนวนผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลในเครือลงร้อยละ 0.3 ภายในปี 2567
ประเด็นมิติสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลในเครือลงร้อยละ 0.3 ภายในปี 2567
แนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งมั่นที่บรรเทาหรือลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงได้จัดทำนโยบายบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อเป็นกรอบให้บริษัทดำเนินงานโดยคำถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชุมได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมถึงพนักงาน คู่ค้า ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
การบริหารจัดการพลังงานและผลการดำเนินงานของบริษัท
- ปริมาณการใช้พลังงานของโรงพยาบาลในเครือออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า เเละพลังงานจากดีเซล (เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) โดยในปี 2566 โรงพยาบาลในเครือมีความต้องการใช้ไฟฟ้า 59,309.34 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) รับมาจากการไฟฟ้านครหลวง และมีปริมาณการใช้ดีเซลเท่ากับ 30,000 ลิตร
- อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมุ่งเน้นดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินโครงการเพื่ออนุรักษ์การใช้พลังงานเพื่อให้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมลงได้
การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทั่วโลก อีกทั้งมีความถี่และผลกระทบที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกและภัยธรรมชาติต่างๆ บริษัทจึงตระหนักความสำคัญนี้มาโดยตลอด
- ปริมาณการก๊าซเรือนกระจกและผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในเครือ ปี 2566
- การประเมินก๊าซเรือนกระจกของโรงพยาบาลในเครืออ้างอิงหลักการคำนวณตาม IPCC 2006 โดยโรงพยาบาลในเครือมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 29,754.67 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) จากการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 2 ขอบเขต ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (ขอบเขตที่ 1) มีปริมาณ82.21 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) มีปริมาณ 29,672.46ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) สำหรับการดำเนินงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกมีรายละเอียดดังนี้
ปริมาณของเสียทั้งหมด 209.36 ตัน
ปริมาณของเสียทั้งหมด 209.36 ตัน
ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
1. โครงการปรับปรุงเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้งานในระบบปรับอากาศ
บริษัทได้ปรับปรุงปรับปรุงเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้งานในระบบปรับอากาศ ทดแทนเครื่องทำน้ำเย็นแบบเดิม ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และเพิ่มการระบายอากาศ
2. โครงการติดตั้งฟิล์มกระจกหน้าต่างสำหรับอาคารเพื่อลดความร้อนจากแสงอาทิตย์
บริษัทได้ติดตั้งฟิล์มกระจกหน้าต่างสำหรับอาคาร ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยลดปริมาณความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่งผ่านกระจก ทำให้อุณหภูมิภายในอาคารเย็นขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และเพิ่มการสะท้อนของแสงอาทิตย์
3. โครงการติดตั้งสถานี EV Charging Station
บริษัทในเครือได้มีการติดตั้งสถานี EV Charging Station ไว้ภายในโรงพยาบาล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาล และสนับสนุนให้ประชานชนใช้รถยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่มีการปล่อยไอเสียหรือก๊าซเรือนกระจกออกมาและการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้านั้นเงียบกว่าเครื่องยนต์ จึงไม่สร้างมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ซึ่งเป็นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้รถยนต์ไฟฟ้ายังช่วยลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิลได้อีกด้วย
4. กิจกรรม Big Cleaning Day
บริษัทในเครือได้มีจัดโครงการ Big Cleaning Day ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้พนักงานทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำความสะอาดบริเวณต่างๆในโรงพยาบาล โดยโครงการ Big Cleaning Day นี้ เป็นการทำความสะอาดครั้งใหญ่ ซึ่งจะเน้นการทำความสะอาดอย่างทั่วถึงทุกซอกทุกมุม ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยภายในจะมีการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และภายนอกจะมีการทำความสะอาดบริเวณลานจอดรถ และบริเวณสวนหย่อมตามจุดต่างๆ เพื่อเป็นการดูแลปรับปรุงสภาพสิ่งแวลดล้อมของโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้นและช่วยลดภาระการทำางานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมให้กับอาคารโรงพยาบาล
5. โครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป
บริษัทได้เริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์บนอาคารและหลังคาจอดรถของโรงพยาบาลที่ก่อสร้างใหม่ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ปัจจุบันมีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปไปแล้วทั้งหมด 4 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ปราจีนบุรี โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อรัญประเทศ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ และอยู่ภายใต้การติดตั้งเพิ่มเติมอีก 5 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ฉะเชิงเทรา โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชันแนล รัตนาธิเบศร์ และโรงพยาบาลการุญเวช ปทุมธานี
โครงการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1. การเข้าร่วมโครงการ Care the bear
บริษัทได้เข้าร่วมโครงการ “Care the Bear” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อแสดงความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศและการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานหรือกิจกรรมของบริษัท
2. CEO Roadshow
บริษัทได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเยี่ยมชมกิจการ และการให้สัมภาษณ์กับสื่อสาธารณะของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO Roadshow) เป็นการเยี่ยมชมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากรจากการเดินทางและการเตรียมสถานที่ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอีกด้วย
3. การเข้าร่วมโครงการ YOUเทิร์น
บริษัทและโรงพยาบาลส่งเสริมการแยกขยะอย่างจริงจัง โดยมีการแยกขยะที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานภายในโรงพยาบาล ประกอบด้วย ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะติดเชื้อ และขยะอันตราย และมีการกำหนดแนวทางการจัดการขยะที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละชนิด อาทิ ขยะติดเชื้อจะจัดเก็บในถุงสีแดงสำหรับขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ และรวบรวมไว้ภายในภาชนะรองรับที่มีฝาปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ก่อนขนไปยังห้องพักขยะติดเชื้อก่อนส่งไปกำจัดจัดตามวิธีที่ถูกต้อง
ในส่วนของขยะพลาสติกในปี 2566 บริษัทได้เข้าร่วมโครงการ “YOUเทิร์น” ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการขยะครบวงจรด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืนโดยโครงการจะ นำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปเพื่อให้ได้กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งโดยในระยะแรกบริษัทได้ขายขวดพลาสติกน้ำดื่มวิตามินเกษมราษฎร์สีใสและสีฟ้ารวม 1.38 ตัน เทียบเท่ากับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.67 ตันคาร์บอนไดออกไซด์หรือการปลูกต้นใหญ่จำนวน 187 ต้น
และสีฟ้าน้ำหนักรวม
ก็าซเรือนกระจกเทียบเท่า
คาร์บอนไดออกไซด์
การปลูกต้นไม้ใหญ่จำนวน
การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาการเข้าถึงของน้ำ ดังนั้นบริษัท จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงพยาบาล โดยบริษัทมีโครงการที่จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน้ำและรักษาทรัพยากรน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของทุกภาคส่วน
1. การลดการใช้น้ำ
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลตระหนักดีว่าทรัพยากรน้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินกิจการโรงพยาบาล และการรักษาผู้ป่วย โดยมีแนวทางในการลดการใช้ทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะให้หน่วยงานฝ่ายอาคารและสถานที่มีการบำรุงรักษาระบบน้ำใช้ตามจุดต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลเพื่อไม่ให้เกิดการชำรุดและรั่วไหล โดยมีการตรวจสอบทุกๆ 1 เดือน และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการประหยัดใช้น้ำแก่พนักงานด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ภายในบริษัท ร่วมกับการเปลี่ยนและติดตั้งก็อกน้ำอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้บริการภายนอก
2. การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลได้ดำเนินโครงการประหยัดทรัพยากรน้ำ โดยการนำน้ำเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งน้ำเหลือทิ้งจะถูกนำไปกรองด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) ให้มีความปลอดภัย ปราศจากเชื้อ ก่อนนำมาใช้ในบริเวณที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ เช่น โถสุขภัณฑ์ ทำความสะอาดพื้น และใช้รดน้ำต้นไม้
การบริหารจัดการของเสีย
การจัดการขยะนับเป็นความท้าทายในการจัดการสิ่งแวดล้อม บริษัทและโรงพยาบาลในเครือตระหนักดีว่าธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพจำเป็นต้องใช้วัสดุสิ้นเปลืองจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นในการลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล บริษัท จึงยึดแนวทางการบริหารจัดการขยะตามหลัก 3Rs คือ การลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม
บริษัทจัดตั้งคณะกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment of Care Committee) เพื่อกำหนดนโยบาย วางแผนการดำเนินงาน กำกับดูแลการจัดการขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะติดเชื้อ และขยะอันตรายให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย รวมทั้งหามาตรการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการขยะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย พนักงาน ผู้มาเยือน และชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้คณะกรรมการดูแลสิ่งแวดล้อมยังทำงานร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (Prevention and Control Infection Committee) ในการกำกับดูแลการคัดแยกขยะ การจัดเก็บขยะ และการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานผู้รับเหมาที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ของโรงพยาบาลเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ควบคุมและจัดการขยะที่เกิดจากการบริการของโรงพยาบาล รวมถึงสร้างความมั่นใจว่าขยะที่เกิดขึ้นทุกประเภทมีวิธีการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง