นโยบายการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจ
บริษัทเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยการกำกับดูแลกิจการที่ดีแสดงให้เห็นถึงการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
อีกทั้งการมีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดียังเสมือนเป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับบริษัท โดยบริษัทมีการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งแบ่งได้เป็น 5 หมวด ดังต่อไปนี้
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งครอบคลุม 5 หมวด ดังต่อไปนี้
-
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น โดยระบุไว้ในนโยบายบรรษัทภิบาลอย่างชัดเจนที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มีสิทธิในการได้รับใบหุ้นและสิทธิในการโอนหุ้น สิทธิในการได้รับสารสนเทศที่เพียงพอ ทันเวลา และในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการตัดสินใจ สิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของบริษัท สิทธิในการเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการ สิทธิในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และสิทธิในส่วนแบ่งผลกำไร
- ก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการได้รับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นและข้อมูลที่เกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่จัดประชุม วาระการประชุม กฎเกณฑ์และวิธีการในการเข้าร่วมประชุม (www.bangkokchainhospital.com/storage/document/shareholder-meeting/agm2023/20230321-bch-agm2023-invitation-th.pdf) ซึ่งในปี 2566 บริษัทจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีในวันที่ 21 เมษายน 2566 ในรูปแบบการประชุมแบบ Hybrid ณ ห้องประชุม The World Sky Hall ชั้น 22 โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล เลขที่ 44 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (Physical) และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) โดยถ่ายทอดสดจากห้องประชุมของบริษัท ซึ่งบริษัทได้เผยแพร่เอกสารการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2566 ผ่านเว็บไซต์ของบริษัททั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเผยแพร่่เอกสารฉบัับเพิ่มเติิมในวัันที่ 31 มีีนาคม 2566 หลังจากนั้นบริษัทได้ส่งหนังสือเชิญประชุมซึ่งระบุรายละเอียดของวาระการประชุม ความเห็นของคณะกรรมการบริษัท ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจในที่ประชุม พร้อมทั้งรายละเอียดของ วัน เวลา สถานที่จัดประชุม แผนที่ พร้อมทั้งแนบ รายงานประจำปี และหนังสือมอบฉันทะแบบ ข. ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2566 (ล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันก่อนวันประชุม) โดยบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้จัดส่ง นอกจากนี้ บริษัทยังมีนโยบายที่จะเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้นโดยการเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ท่าน เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้น ที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเอง และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 บริษัทได้แจ้งข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทที่ www.bangkokchainhospital.com ในส่วนข้อมูลสำหรับนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาเสนอวาระการประชุมสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 โดยมีระยะเวลารับข้อมูลถึงวันที่ 31 มกราคม 2566
-
ในวันประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการลงทะเบียนและนับคะแนนเพื่อให้ผลคะแนนที่มีความชัดเจนและโปร่งใส อีกทั้งบริษัทได้เชิญบุคคลอิสระจากบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายมาเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมและตรวจสอบการลงคะแนนและนับคะแนนเสียง เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้อง ทั้งนี้การประชุมสามัญประจำปี 2566 คณะกรรมการบริษัทได้เข้าร่วมประชุมครบทุกท่านและสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมและใช้สิทธิ์ออกเสียงในการประชุม หรือมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าร่วมประชุม หรือกรรมการอิสระคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ออกเสียงแทนในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้แสดงความคิดเห็น ขอคำอธิบาย หรือตั้งคำถามได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยประเด็นซักถามและข้อคิดเห็นสำคัญจะถูกบันทึกไว้ในรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นโดยเลขานุการบริษัท
ในปี 2566 การลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นในแต่ละวาระ เป็นดังนี้
วาระ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม (ราย) เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง บัตรเสีย หุ้น % หุ้น % หุ้น % หุ้น % 1 เนื่องจากเป็นการรายงานต่อที่ประชุม จึงไม่มีการลงมติ 2 1,170 1,806,300,943 100.00 - - - - - - 3 1,171 1,806,302,943 100.00 - - - - - - 4.1 1,172 1,751,132,780 96.95 55,170,863 3.05 300 - - - 4.2 1,172 1,540,261,840 85.27 266,041,803 14.73 300 - - - 4.3 1,172 1,695,869,153 93.89 110,434,490 6.11 300 - - - 4.4 1,172 1,695,653,213 93.87 110,650,430 6.13 300 - - - 51/ 1,172 557,803,643 99.64 - - 2,000,300 0.36 - - 61/ 1,172 557,803,643 99.64 2,000,000 0.36 300 - - - 7 1,172 1,783,095,063 98.72 23,208,500 1.28 380 - - - 8 1,172 1,806,303,563 100.00 - - 380 - - - 1/ ในวาระที่ 5 การพิจารณาและอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการประจำปี 2566 และวาระที่ 6 การพิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินบำเหน็จกรรมการ มีกรรมการ 5 ท่านเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทและได้ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ซึ่งถือหุ้นบริษัทรวมจำนวน 1,246,500,000 หุ้น จะไม่มีสิทธิลงคะแนน เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวาระดังกล่าว
- ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้นำส่งมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามระเบียบข้อบังคับภายใน 14 วัน ภายหลังจากการประชุมผู้ถือหุ้น รวมถึงได้เผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัทในส่วนข้อมูลสำหรับนักลงทุนสัมพันธ์ https://www.bangkokchainhospital.com/storage/document/shareholder-meeting/agm2023/20230503-bch-agm2023-minute-th.pdf เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทั่วไปได้รับทราบรายงานการประชุมอย่างสะดวกรวดเร็ว
- บริษัทมีการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
- บริษัทมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ชัดเจน รวมทั้งมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น หากมีกรณีที่บริษัทเห็นว่ากรรมการท่านใดเข้าข่ายที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กรรมการท่านนั้นจะงดออกเสียงลงคะแนน โดยบริษัทได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกันเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังได้เปิดเผยถึงรายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้แจ้งข้อมูลในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นสำหรับวาระการประชุมอย่างเพียงพอต่อการตัดสินใจ เช่น วาระการจ่ายเงินปันผล วาระการแต่งตั้งกรรมการ วาระการพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ วาระการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชี และวาระการพิจารณาเรื่องสำคัญของบริษัท เช่น การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทการออกและเสนอขายหุ้นกู้ เป็นต้น
-
บริษัทมีการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้หนังสือมอบฉันทะในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ด้วยตนเองโดยการเสนอชื่อกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ท่าน เป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้น
ในปี 2566 มีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมการประชุม เป็นดังนี้
ราย หุ้น % ผู้ถือหุ้นตามทะเบียนรวม 23,112 2,493,747,984 100.00 ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม 1,172 1,806,303,943 72.43 เข้าร่วมประชุมด้วยตัวเอง 36 1,247,460,754 50.02 มอบฉันฑะ 1,136 558,843,189 22.41 - มอบให้กรรมการตรวจสอบ 1,127 522,560,177 20.95 - มอบให้ผู้อื่น 9 36,283,012 1.46 - บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิ์ในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล รวมทั้งได้แจ้งข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 และเว็บไซต์ของบริษัทให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 โดยมีระยะเวลารับข้อมูลถึงวันที่ 31 มกราคม 2566
- บริษัทกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารทุกคนรายงานการถือครองหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ
บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิ์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน
คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ดังนี้
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ด้วยความโปร่งใส ระมัดระวังรอบคอบและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นโดยรวม
- นำเสนอรายงานสถานภาพของบริษัท ผลการดำเนินงาน ฐานะทางการเงิน ข้อมูลบัญชี และรายงานอื่น ๆ โดยสม่ำเสมอและครบถ้วนตามความจริง
- แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายทราบถึงแนวโน้มในอนาคตขององค์กรทั้งในด้านบวกและด้านลบซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ มีข้อมูลสนับสนุนและมีเหตุผลอย่างเพียงพอ
- ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่นโดยใช้ข้อมูลของบริษัทซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนหรือดำเนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับองค์กร
2. พนักงาน
บริษัทให้ความสำคัญกับพนักงาน ที่เปรียบเป็นทรัพยากรที่สำคัญของบริษัท ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริม และผลักดันให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นบริษัทจึงมีนโยบายที่จะดูแลพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีสภาพการจ้างงานที่ยุติธรรม มีสวัสดิการที่เหมาะสม มีโอกาสที่จะพัฒนาความก้าวหน้า รวมทั้งมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
- จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน
- ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ ให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- บริษัทกำหนดค่าตอบแทนให้กับพนักงานอย่างเป็นธรรมเหมาะสมกับหน้าที่รับผิดชอบและความสามารถ รวมถึงการจัดสรรสวัสดิการที่ดีให้แก่พนักงาน อาทิ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลผ่านโรงพยาบาลในเครือ
- การพิจารณาการแต่งตั้งและการโยกย้าย รวมทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ กระทำด้วยความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของพนักงานนั้นเป็นเกณฑ์
- บริษัทถือว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและต้องได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม โดยได้มีแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรระดับผู้บริหาร (Excellence Management) ร่วมกับศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บริษัทให้ความสำคัญกับการสรรหาบุคคลากร การจ้างงานและการปฏิบัติงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมพนักงานทุกระดับและกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม อาทิ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสอื่น
- บริษัทส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติตามนโยบายประหยัดพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานของพนักงาน หรือคุกคาม และสร้างความกดดันต่อสภาพจิตใจของพนักงาน
- พนักงานมีสิทธิ์ในการร้องเรียนกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามระบบและกระบวนการที่กำหนด
- รับฟังข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ จากพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมและเสมอภาค
3. คู่ค้า
บริษัทดำเนินธุรกิจกับหุ้นส่วน คู่ค้า และอื่นๆ ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการค้า หรือข้อตกลง ที่ได้ทำเป็นสัญญาอย่างยุติธรรมและมีจริยธรรม โดยคำนึงถึงความสมเหตุสมผลด้านราคา คุณภาพ และบริการที่ได้รับ รวมถึงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดำเนินธุรกิจร่วมกับคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าควบคู่ไปกับการเติบโตของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างยั่งยืน โดยบริษัทได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้แก่คู่ค้า ดังนี้
- คู่ค้าต้องประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส สุจริต และเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างซื่อตรง
- ปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าภายใต้กรอบกติกาอย่างเป็นธรรม และไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีที่ไม่สุจริต
- ไม่เรียก ไม่รับหรือจ่ายผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริต หรือไม่มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่น
- ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทและบริษัทย่อย และไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบกับบริษัทและบริษัทย่อย
- ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับโดยไม่ได้รับความยินยอม
- ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
- ต้องกำหนดช่องทางการร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งมีกระบวนการในการตรวจสอบและติดตามการร้องเรียนให้แก่ผู้ร้องเรียน
- ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด
- ปฏิบัติตามกฎหมายชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงส่งเสิรมให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจด้านความปลอดภัย และการรับมือในสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและข้อบังคับต่างๆ จากภาครัฐอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมีมาตรการในการแก้ไขและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการให้บริการ
- มีการประเมินความเสี่ยง และจัดให้มีการอบรม ฝึกซ้อม เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างสม่ำเสมอ
จรรยาบรรณคู่ค้า: https://www.bangkokchainhospital.com/storage/document/cg/bch-code-of-conduct-for-business-partners-th.pdf
4. เจ้าหนี้
บริษัทปฏิบัติต่อเจ้าหนี้อย่างเป็นธรรม โดยจะปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดของสัญญาอย่างเคร่งครัด และไม่ใช้เงินทุนที่ได้จากการกู้ยืมเงินไปในทางที่ขัดกับวัตถุประสงค์ในข้อตกลงที่ทำให้กับผู้ให้กู้ยืมเงิน ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาได้ บริษัทจะรายงานให้เจ้าหนี้ทราบล่วงหน้า เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5. ลูกค้า/ผู้ป่วย
บริษัทมุ่งมั่นที่จะให้บริการลูกค้า/ผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัย จึงได้นำมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการพัฒนาและการประเมินโรงพยาบาลโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขโดยครอบคลุมการทำหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพของโรงพยาบาล รวมถึง Joint Commission International (JCI) ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล มาปรับใช้ในการให้บริการและยกระดับคุณภาพในการให้บริการแก่ผู้ป่วย
6. คู่แข่ง
บริษัทมีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของกติกาการแข่งขันที่ยุติธรรม ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการทุจริตหรือไม่เหมาะสม โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี
- ไม่พยายามทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้ายโดยปราศจากความจริง
- ไม่ละเมิดความลับ หรือล่วงรู้ความลับทางการค้าของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีฉ้อฉล
7. ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
บริษัทดำเนินธุรกิจโดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความมั่นคง สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม และคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- สร้างจิตสำนึกในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
- คืนกำไรส่วนหนึ่งเพื่อกิจกรรมที่มีส่วนสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ
- ดำเนินธุรกิจโดยให้มีผลกระทบต่อความเสียหายของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนน้อยที่สุด รวมถึงส่งเสริมให้คู่ค้าของบริษัทตระหนักและดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
- ปฏิบัติและให้ความร่วมมือหรือควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแล
- ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างสรรค์ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี และการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นต้น
8. การต่อต้านการทุจริต
บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ โดยจัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบ เพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการประพฤติมิชอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์และความถูกต้องชอบธรรม ในปี 2566 คณะกรรมการบริิษััทได้้ทบทวนนโยบายต่่อต้านการคอร์รััปชััน และคู่มือปฏิิบััติิในการต่่อต้านคอร์์รััปชัันแล้้วเห็็นว่่ายัังสอดคล้้องกัับการดำเนิินธุุรกิิจของบริิษััทและเหมาะสมกัับสถานการณ์์ปัจจุุบััน นอกจากนี้บริิษัทยังไม่พบประเด็นปัญหาข้อบกพร่องที่่เป็นสาระสำคัญเกี่่ยวกับการทุจริิตคอร์์รััปชันและการดำเนิินงานที่่ไม่่สอดคล้้องกัับกฏหมายหรืือข้้อกำหนดที่เกี่ยวข้้อง ตลอดจนการละเมิิดจรรยาบรรณในการดำเนิินธุุรกิิจแต่่อย่่างใด
ในปี 2566 บริษัทได้ผ่านกระบวนการรับรองและเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านคอร์รัปชันต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 นอกจากนี้บริษัทยังดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร อาทิ การเผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นผ่านเว็บไซต์ www.bangkokchainhospital.com ในส่วนของการกำกับดูแลกิจการที่ดี การอบรมและปฐมนิเทศพนักงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการแจ้งคู่ค้าและผู้รับเหมา เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปอย่างสุจริตและโปร่งใสตามนโยบายที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง
- บริษัทมีนโยบายห้ามให้สินบนในทุกรูปแบบในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงไม่จ่ายค่าอำนวยความสะดวกในรูปแบบใดๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องบริจาคเพื่อการกุศล การให้ของขวัญทางธุรกิจ หรือการให้เงินสนับสนุนในกิจกรรมใดๆ จะต้องโปร่งใส ไม่มีเจตนาในการโน้มน้าวให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ/เอกชน ดำเนินการที่ไม่เหมาะสม
- นโยบายเหล่านี้จะถูกประกาศและเผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างทั่วถึง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรม โดยบริษัทจะกำหนดมาตรการลงโทษที่เด็ดขาดกับผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตภายใน หรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับการให้สินบนหรือการคอร์รัปชั่นต่าง ๆ
- บริษัทมีการสื่อสารและเน้นย้ำมาตรการเหล่านี้ผ่านการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมต่างๆ ภายในบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนทราบและตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น รวมถึงสื่อสารให้พนักงานเห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการป้องกันและต่อต้านการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ
- บริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานทุจริต หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
- บริษัทมีนโยบายแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน พร้อมทั้งจัดให้มีช่องทางในการสื่อสาร เพื่อให้พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถแจ้งเบาะแสอันควรสงสัย โดยมั่นใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองและมีการมอบหมายหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบทุกเบาะแสที่มีการแจ้งเข้ามาอย่างโปร่งใสและไม่ชักช้า
- บริษัทได้จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ชัดเจน ซึ่งได้รับการอนุมัติตามมติในที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2560 และมีการทบทวนประจำปีในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 โดยบริษัทได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร อาทิ การเผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นผ่านเว็บไซต์ www.bangkokchainhospital.com ในส่วนของการกำกับดูแลกิจการที่ดี การอบรมและปฐมนิเทศพนักงานเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการแจ้งคู่ค้าและผู้รับเหมา เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นไปอย่างสุจริตและโปร่งใสตามนโยบายที่วางไว้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นและคู่มือการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น : https://www.bangkokchainhospital.com/storage/document/cg/bch-anti-corruption-policy-th.pdf
คู่มือการปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น: https://www.bangkokchainhospital.com/storage/document/cg/bch-anti-corruption-brochure-th.pdf
นโยบายแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน: https://www.bangkokchainhospital.com/storage/document/cg/bch-whistleblowing-and-complaint-policy-th.pdf
9. สิทธิมนุษยชน
บริษัทยึดมั่นที่จะปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเสมอภาค ยุติธรรม และให้เกียรติต่อกัน การปฏิบัติที่เท่าเทียมโดยไม่พิจารณาถึงความแตกต่างด้านเพศ ศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ และการละเมิดสิทธิทางเพศ เพื่อแสดงออกถึงความยึดมั่นดังกล่าว บริษัทจึงได้จัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มในการยึดถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สรุปได้ดังนี้
- บริษัทสนับสนุน ส่งเสริม และเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมครอบคลุมพนักงาน ลูกค้าหรือผู้ป่วย คู่ค้า ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท และกลุ่มเปราะบางทุกกลุ่ม โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว เพศ ภาษา อายุ สถานะทางสังคม สถานะการสมรส ถิ่นกำเนิด วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม ความคิดเห็น หรือเรื่องอื่นใด
- บริษัทจะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอย่างเด็ดขาด (Zero Tolerance Policy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แรงงานเด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายการจ้างงานกำหนด การจ้างแรงงานบังคับ และแรงงานข้ามชาติที่ผิดกฎหมายในการดำเนินการของบริษัทและห่วงโซอุปทาน
- บริษัทได้จัดให้มีช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องหรือเกิดจากการดำเนินงานของบริษัท โดยให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้แจ้งเบาะแส และจะดำเนินการสืบสวนและจัดการข้อร้องเรียนอย่างโปร่งใสและไม่ชักช้า
- บริษัทได้จัดให้มีนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน ซึ่งได้รับการอนุมัติตามมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2566 และมีการทบทวนประจำปีในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 โดยบริษัทได้ดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นการสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน และไม่สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท www.bangkokchainhospital.com ในส่วนของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน: https://www.bangkokchainhospital.com/storage/document/cg/bch-human-rights-policy-th.pdf
10. สิทธิทางปัญญา
บริษัทกำหนดให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของพนักงานทุกคนที่จะดูแลรับผิดชอบสารสนเทศที่อยู่ในการครอบครอง ไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงโดยมิชอบ ไม่สนับสนุนให้เผยแพร่หรือทำซ้ำเอกสารที่ละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และไม่สนับสนุนให้พนักงานเลือกใช้สินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
11. รัฐบาล
บริษัทดำเนินธุรกิจเพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ โดยยึดถือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามครรลองประเพณีธุรกิจทั่วไป
บริษัทมีนโยบายที่จะเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างถูกต้อง ครบถ้วน สม่ำเสมอ ทันเวลา โปร่งใส และน่าเชื่อถือ รวมถึงโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ชัดเจนซึ่งแสดงให้เห็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริง โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากหัวข้อโครงสร้างการถือหุ้น รวมถึงการกำกับดูแลกิจการบริษัทซึ่งได้เปิดเผยในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1 One Report)
นโยบายการเปิดเผยสารสนเทศ:www.bangkokchainhospital.com/storage/document/cg/bch-information-disclosure-policy-th.pdf
- บริษัทได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยผ่านการพิจารณาอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว ทั้งนี้ค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจะพิจารณากำหนดโดยใช้ข้อมูลค่าตอบแทนของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันและที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ผลประกอบการของบริษัทและผลการดำเนินงานของผู้บริหารแต่ละท่าน
- คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน โดยเลือกใช้นโยบายการบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง และประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดทำ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และบริษัทได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบการควบคุมภายในของบริษัท
-
บริษัทมีนโยบายที่จะให้มีผู้ดูแลงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อดูแลเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงต่อความเป็นจริง เชื่อถือได้ ทันเวลา และโปร่งใส รวมทั้งเพื่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนทั่วไป นักวิเคราะห์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยมีสรุปกิจกรรมหลักในปี 2566 ที่ผ่านมา ดังนี้
กิจกรรม จำนวนกิจกรรมในปี 2566 งานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 1 ครั้ง การประชุมนักวิเคราะห์ 4 ครั้ง กิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบนักลงทุน 4 ครั้ง แถลงผลประกอบการต่อสื่อมวลชน 4 ครั้ง กิจกรรมพบนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ 21 ครั้ง การเข้าเยี่ยมชมบริษัท / การประชุมทางโทรศัพท์ 98 ครั้ง - โดยบริษัทมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ผลการดำเนินงาน งบการเงิน และสารสนเทศที่บริษัทแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯที่ www.set.or.th และเว็บไซต์ของบริษัทที่ www.bangkokchainhospital.com กรณีที่ผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อมายังผู้อำนวยการฝ่ายการเงินที่ดูแลด้านนักลงทุนสัมพันธ์ อีเมล: ir@bangkokchainhospital.com หรือผ่านเว็บไซต์ของบริษัทที่ www.bangkokchainhospital.com หรือโทร: +662-836-9940
การรายงานเบาะแส
ในกรณีที่ต้องการแจ้งข้อร้องเรียน การปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท ผู้มีส่วนได้เสียสามารถส่งข้อร้องเรียนตามช่องทาง ดังนี้
- อีเมล: report@bangkokchainhospital.com
- ทางไปรษณีย์: ถึงผู้รับแจ้งข้อร้องเรียน บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ชั้น 22 เลขที่ 44 หมู่ 4 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
1. โครงสร้างคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย
คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ โดยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของบริษัทโดยร่วมกับผู้บริหารระดับสูง วางแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนกำหนดนโยบายทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง และภาพรวมขององค์กร มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นอิสระ
2. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัทตลอดจนกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการจัดให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และมาตรการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมทั้งมีการติดตามการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอในการประชุมคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการด้านความยั่งยืนกำกับดูแลกิจการ และบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารอย่างชัดเจนและโปร่งใส
บริษัทได้จัดให้มีระเบียบและแนวทางปฏิบัติของจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงกำหนดบทลงโทษทางวินัยไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีนโยบายและวิธีปฏิบัติสำหรับกรณีที่เสี่ยงต่อปัญหาจริยธรรม โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และประเพณีอันดีงามของสังคม นอกจากนี้ บริษัทยังมีจริยธรรมในเรื่องค่าบริการ ซึ่งผู้รับบริการสามารถขอดูรายละเอียดและค่ารักษาพยาบาลได้ โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และมีจริยธรรมในการประชาสัมพันธ์ โดยได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมสถานพยาบาลเอกชน
บริษัทมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ชัดเจน รวมทั้งมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เช่น หากมีกรณีที่บริษัทเห็นว่ากรรมการท่านใดเข้าข่ายที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กรรมการท่านนั้นจะงดออกเสียงลงคะแนน โดยบริษัทได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกันเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังได้เปิดเผยถึงรายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นในงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กำหนด
3. หลักเกณฑ์การสรรหากรรมการและขั้นตอนการแต่งตั้งกรรมการใหม่
สำหรับการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งกรรมการโดยคำนึงถึงความหลากหลายของโครงสร้างของคณะกรรมการ (Board Diversity) และคำนึงถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นและยังขาดอยู่ในคณะกรรมการพร้อมด้วยคุณสมบัติและความชำนาญเฉพาะด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท (Board Skill Matrix) โดยให้มีความเหมาะสมด้าน คุณวุฒิ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ผลการปฎิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังไม่มีการจำกัดเพศเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมเป็นกรรมการ รวมทั้งจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้าเป็นกรรมการของบริษัท นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการสรรหาและคัดเลือกกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับกลยุทธ์ของธุรกิจ การประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการอย่างเหมาะสม
ขั้นตอนการแต่งตั้งกรรมการบริษัทมีดังนี้
- ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
- ให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคลไป
- บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาจะเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่พึงมี หรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีบุคคลซึ่งได้รับเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมี หรือพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
4. การประชุมคณะกรรมการ
คณะกรรมการมีกำหนดประชุมโดยปกติอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง และมีการประชุมพิเศษเพิ่มตามความจำเป็น โดยมีการกำหนดวาระชัดเจนล่วงหน้า และมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ ทั้งนี้ บริษัทได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารก่อนการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 ได้มีอมุนัติให้แต่งตั้งกรรมการอิสระหนึ่งรายร่วมพิจารณากำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนตามหลักปฏิบัติ 3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผลในการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายจัดการและคณะกรรมการบริษัท
ในการประชุมแต่ละคราวประธานที่ประชุม จะเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ในกรณีที่มีกรรมการท่านใดที่มีส่วนได้เสียใดๆ ในเรื่องที่พิจารณา กรรมการจะแจ้งต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบ และจะต้องไม่เข้าร่วมในการแสดงความเห็นและไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงมติในเรื่องนั้น ๆ โดยจำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุม ต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
5. ค่าตอบแทน
บริษัทได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยผ่านการพิจารณาอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว ทั้งนี้ค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจะพิจารณากำหนดโดยใช้ข้อมูลค่าตอบแทนของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันและที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ผลประกอบการของบริษัทและผลการดำเนินงานของผู้บริหารแต่ละท่าน นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ได้อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการสรรหาและคัดเลือกกรรมการที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับกลยุทธ์ของธุรกิจ การประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการอย่างเหมาะสม
6. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน
บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อระบบควบคุมภายในทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ โดยได้มีการกำหนดภาระหน้าที่ อำนาจการดำเนินการของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารไว้อย่างชัดเจน มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สิน และมีการแบ่งแยกหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ติดตามควบคุม และประเมินผลออกจากกันเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทยังมีการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับระบบการเงิน โดยบริษัทได้จัดให้มีระบบรายงานทางการเงินเสนอผู้บริหารสายงานที่รับผิดชอบ
บริษัทได้แต่งตั้งผู้ตรวจสอบภายในจากบริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตรวจสอบภายในอิสระที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ตรวจสอบภายในของบริษัท โดยประเมินจากความเพียงพอของจำนวนบุคลากร ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถและความเป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานในแต่ละส่วนงานของบริษัท ตามแนวทางการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไว้
ฝ่ายตรวจสอบภายในมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของทุกหน่วยงาน ซึ่งจะตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ตามแผนการตรวจสอบประจำปีโดยจะตรวจสอบการลงบัญชี การนำเงินยอดขายฝากธนาคาร และตรวจนับสินค้าคงเหลือ ทรัพย์สินถาวร กรณีมีข้อสงสัยหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่ปกติของหน่วยงานใดๆ ฝ่ายตรวจสอบภายในจะทำการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานนั้นๆ ทันทีจนกว่าจะสามารถหาข้อเท็จจริงได้ และจัดทำรายงานการตรวจสอบแจ้งให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบอย่างสม่ำเสมอ
7. การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้มีการฝึกอบรมและการให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหารของบริษัท เพื่อให้มีการปรับปรุงและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทั้งหลักสูตรการอบรมภายในและภายนอกบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัททุกท่านต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้เข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ คณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูง โดยคณะกรรมการบริษัทได้ผ่านการอบรมหลักสูตรกับสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในหลักสูตร Director Certification Program (DCP) และหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP)
สำหรับการปฐมนิเทศกรรมการใหม่ คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้เลขานุการบริษัทจัดเตรียมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับกรรมการใหม่เพื่อให้กรรมการใหม่ รับทราบบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของกรรมการ นโยบาย ข้อมูลธุรกิจ และแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทก่อนการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจในธุรกิจให้กับกรรมการทุกท่าน เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของกรรมการมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังมีนโยบายในการเสริมความรู้ให้กรรมการและผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ