การจัดการด้านความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ
ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ และบรรษัทภิบาล
ประเด็นด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในมิติด้านความยั่งยืนที่มีความสำคัญและได้รับความสนใจจากสาธารณชน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรให้ตรงตามเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด บริษัทจึงให้ความสำคัญโดยได้ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความโปร่งใส เป็นธรรมและมีจริยธรรม ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน และการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาพัฒนาการบริการ ควบคู่กับการรักษาความปลอดภัยและคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เพื่อสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ซึ่งนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล
ประเด็นมิติเศรษฐกิจ
เป้าหมาย
บริษัทมีเป้าหมายในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ โดยได้กำหนดเป้าหมายคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าไว้ที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในการดำเนินงานทุกปี
ประเด็นมิติเศรษฐกิจ
เป้าหมาย
- เผยแพร่ สื่อสาร และทำความเข้าใจ ในนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ให้คณะกรรมการบริษัท พนักงาน และบริษัทคู่ค้า ร้อยละ 100 รับทราบภายในปี พ.ศ. 2567
- พนักงานและบริษัทคู่ค้าร้อยละ 100 รับทราบนโยบาย และการฝึกอบรมเรื่องจรรยาบรรณธุรกิจเพื่อนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน ภายในปี พ.ศ. 2567
- บริหารความเสี่ยงจากปัจจัยแวดล้อมครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท
ประเด็นมิติเศรษฐกิจ
เป้าหมาย
- ดำเนินการเผยแพร่นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศครอบคลุมพนักงานภายในสำนักงานใหญ่ 100% ภายในปี 2567
- ทบทวนนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลและนำข้อร้องเรียนเพื่อพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ
ประเด็นมิติเศรษฐกิจ
เป้าหมาย
100% ของคู่ค้ารับทราบนโยบายจรรยาบรรณคู่ค้าของบริษัทผ่านเว็บไซต์ของบริษัท ภายในปี 2567
ประเด็นมิติเศรษฐกิจ
เป้าหมาย
มีการจัดโครงการประกวดนวัตกรรมภายในกลุ่มโรงพยาบาล และมีการสนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นประจำทุกปี
ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ
คุณภาพการให้บริการ
โรงพยาบาลในเครือให้ความสำคัญกับต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก จึงจัดให้มีกระบวนการ กำหนดนโยบายควบคุมคุณภาพการให้บริการด้านสุขภาพและแนวทางการดำเนินงานภายในองค์กรที่สอดคล้องกับมาตรฐานทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วยและองค์กร ดังนั้นบริษัทจึงมีแนวทางในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยได้มีการนำระบบคุณภาพต่างๆ มาใช้ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับประเทศ Hospital Accreditation (HA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล Joint commission International (JCI)
10
โรงพยาบาล
4
โรงพยาบาล
ความพึงพอใจของลูกค้า
บริษัทเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลความเห็นของลูกค้า และพัฒนาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการใช้ตัวชี้วัดการประเมินด้วยหลักการ H A P P Y ครอบคลุมทั้งหมด 5 ด้าน
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ94.8%
การกลับมาใช้บริการ 97.3%
การสื่อสารนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านการต่อต้านการทุจริต
บริษัทจัดให้มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน คู่มือปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชัน และนโยบายแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทผู้บริหารและพนักงานทุกระดับรับทราบและยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูง
ได้รับการสื่อสารและอบรมเรื่องการ ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
100%
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วทั้งโลกได้เผชิญความท้าทายของสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งมีเหตุการณ์สงครามยูเครน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ ในส่วนของการขาดแคลนสินค้า ราคาวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงความสามารถในการจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนดเวลา ดังนั้น บริษัทจึงจำเป็นจะต้องมีการปรับตัว และบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ทั้งการจัดการบริหารงานโรงพยาบาลทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การวางแผนจัดหาสินค้าให้ได้รับตรงต่อเวลา การบริหารความสัมพันธ์ และกระบวนการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
บริษัทจึงได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล (ESG) เข้ามาบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท โดยมีแนวการทางดำเนินงานที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาส ลดความเสี่ยง และเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
การประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของคู่ค้า
บริษัทได้มีเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของคู่ค้า ดังนี้
ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทได้ประเมินเฉพาะคู่ค้าสำคัญ 3 อันดับแรกของคู่ค้าหมวดยาและเวชภัณฑ์ และได้ประเมินคู่ค้าสำคัญหมวดเครื่องมือแพทย์และหมวดสินค้าจัดซื้อทั่วไปเพิ่มเติมอีกจำนวน 7 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567)โดยผลการประเมินอยู่ในระดับที่ไม่มีความเสี่ยงที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลอย่างมีนัยยะสำคัญจากคู่ค้า
การตรวจประเมินและเข้าเยี่ยมคู่ค้า
การตรวจประเมินและเข้าเยี่ยมลูกค้าของบริษัทจะดำเนินการกับคู่ค้าหลักและคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงเป็นลำดับต้น ๆ และจะดำเนินการเข้าเยี่ยมคู่ค้าโดยตรงรายอื่นเป็นลำดับถัดไปและเมื่อเข้าเยี่ยมการตรวจประเมินคู่ค้าแล้ว ทางคู่ค้าจะต้องแจ้งกลับแผนและแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและคำขอให้ดำเนินการแก้ไข (Corrective Action Request) ที่ได้รับแก่บริษัท การติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ/หรือบรรษัทภิบาล โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ดังนี้
- การจัดเตรียมเอกสารก่อนเข้าประเมิน
- การตรวจประเมินผ่านการตรวจสอบเอกสาร การสัมภาษณ์คู้ค้า และการเยี่ยมชมกิจการ
- รายงานการตรวจประเมินผ่านเกณฑ์การให้คะแนนของบริษัท รวมทั้งสรุปรายงานสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและคำขอให้ดำเนินการแก้ไข เพื่อการพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
- การตรวจติดตามแก้ไขทั้งการตรวจสอบเอกสารและการเข้าเยี่ยมชมกิจการในครั้งถัดไป
การมีส่วนร่วมพัฒนาการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของคู่ค้า
การเข้าร่วมอบรม/สัมมนาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร
คู่ค้าสำคัญของบริษัทโดยตรง
32 ราย
คู่ค้าสำคัญที่ไม่ได้ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง
39 ราย
คู่ค้าทั้งหมดของบริษัท
618 ราย
สัดส่วนคู่ค้าที่ ได้รับการประเมิน
100%
นวัตกรรมและเทคโนโลยี
Telehospital
โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ได้คิดค้นและพัฒนาระบบ Telehospital หรือระบบแพทย์ทางไกลขึ้นตั้งแต่ปี 2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาระหว่างเครือข่ายโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ แม่สาย และคลินิกเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ เชียงแสน
โดยโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ศรีบุรินทร์ ที่มีความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์และการรักษาโรคซับซ้อนสามารถให้บริการระบบแพทย์ทางไกลเพื่อรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยในสาขาอื่น ๆ ที่ขาดแคลนแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางลงได้อย่างมาก รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการให้กับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลดระยะการเดินทางของแพทย์
129
กิโลเมตรต่อวัน
ลดเวลาในการเดินทางของแพทย์
2
ชั่วโมงต่อวัน
ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากการเดิน
8.6
ลิตรต่อวัน
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
19.24
กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อวัน
เพิ่มการเข้าถึงการรักษาโรคเฉพาะทางของผู้ป่วย บริเวณชายแดนไทย - เมียนมา