รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2566

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2566

การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ BCH

บริษัทยึดมั่นการดำเนินธุรกิจตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการบริหารจัดการ เพื่อความน่าเชื่อถือ มุ่งเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร และการมีระบบการตรวจสอบที่ดี ตลอดจนคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นตามมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจ และบูรณาการควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงมิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และหลักธรรมาภิบาล (Governance) และมุ่งมั่นที่สร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย พร้อมรับมือกับความท้าทาย และความเสี่ยงอันเกิดจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นต่อบริษัท ชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต

นโยบายและเป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน

บริษัท มีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทาง ESG คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และหลักธรรมาภิบาล (Governance) และยังตระหนักดีว่าการดำเนินธุรกิจโดยพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งมีแนวทางการจัดการเพื่อหลีกเลี่ยง หรือลดผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้บริษัทได้รับความเชื่อมั่น และความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

บริษัทกำหนดแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางทั้ง 13 เป้าหมาย ขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

ขจัดความยากจน

ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทุกสถานที่

มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

รับรองการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ

การศึกษาที่เท่าเทียม

รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

Gender Equality

บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิง

การจัดการน้ำและสุขาภิบาล

รับรองการมีน้ำใช้ การจัดการน้ำและสุขาภิบาลที่ยั่งยืน

การเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้ตามกำลังของตน

รับรองการมีพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้ เชื่อถือได้ ยั่งยืนทันสมัย

การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานที่มีคุณค่า

อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืน ทั่วถึงและสนับสนุนนวัตกรรม

Reduce Inequalities

ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานมีความปลอดภัย

แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ

สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก

ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ

บริษัทได้จัดให้มีกระบวนการรองรับการกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท โดยมีการวางกลยุทธ์ในการสื่อสาร รวมถึงเปิดโอกาสในการสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง รักษาความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยสรุปรายละเอียดความต้องการและความคาดหวัง พร้อมทั้งกลยุทธ์การตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทดังนี้

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

ผลการประเมินประเด็นที่สำคัญ

ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ

  1. ความรับผิดชอบต่อผู้ป่วย
  2. บรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณธุรกิจ
  3. ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล
  1. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  1. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ความยั่งยืนด้านสังคม

  1. การพัฒนาและมีส่วนร่วมกับชุมชน
  2. การจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
  3. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  4. การเข้าถึงบริการทางการแพทย์
  1. การพัฒนาองค์กรและพนักงาน

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

  1. การจัดการของเสีย
  1. การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย
  2. การจัดการพลังงานและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัท